แหล่งเรียนรู้ » ผ้าตีนจก

ผ้าตีนจก

10 มีนาคม 2019
954   0

ผ้าตีนจกของอำเภอลอง เป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีความประณีตสวยงาม ทอด้วยผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเน้นสีดำแดงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านนาตุ้ม บ้านหัวทุ่ง บ้านนามน

 

 

 

ข้อมูล เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (Product Story)ความหมายของ “ผ้าตีนจก” เป็นผ้าทอของชาวบ้านที่ทอขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปเป็นเชิงผ้าถุง หรือซิ่นซึ่ง

มีลวดลายที่สวยงาม แสดงถึงฐานะของผู้สวมใส่ คำว่า “ตีนจก” ซึ่ง “ตีน” หมายถึงเชิงของผ้าถุง “จก” หมายถึง

การล้วง จึงมีความหมายรวมกันว่า การทอเชิงผ้าถุงโดยใช้วิธีการล้วงด้ายเพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ เมื่อนำ

มาต่อกับผ้าถุง จึงเรียกว่า “ซิ่นตีนจก”การทอผ้าตีนจกเมืองลอง จังหวัดแพร่ ในการแต่งกายของชาวเมืองลอง ยัง

ปรากฎมานานนับร้อยปี หลักฐานนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเวียงต้า ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง ฝีมือช่างพื้นบ้าน

ที่มีความงามไม่น้อยไปกว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน จิตรกรรมเวียงต้าเป็นภาพวิถี

ชีวิตความเชื่อการแต่งการของชาวบ้านเวียงต้า ซึ่งเป็นคนเมืองลองในยุคนั้น จากภาพจะเน้นผ้าถุงที่ผู้หญิงในภาพ

ใช้สวมใส่เป็นซิ่นตีนจก ในปัจจุบันผ้าตีนจกเมืองลอง ได้กลับมาอยู่ในความนิยมของประชาชน สร้างชื่อเสียงให้กับ

อำเภอลอง และจังหวัดแพร่ ช่างทอตีนจกจากเมืองลอง ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานทางด้านวัฒนธรรมดีเด่น

ในระดับประเทศในปี พ.ศ. 2537 และผ้าทอตีนจกได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในเมืองลอง

มากขึ้น เป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญในท้องถิ่นที่ควรอนุกรักษ์ไว้